วัดคีรีวงศ์ ตั้งอยู่ถนนมาตุลีและถนนดาวดึงส์ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์และ บริษัทถาวรฟาร์ม ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ ๓๒๐ ไร่
มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนน ดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์
มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนน ดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระธุดงค์ได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ได้พบวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่า พระพุทธรูปเก่าและฐานอุโบสถเก่า เป็นต้น สงสัยว่าจะเป็นวัดร้างจึงได้ แจ้งให้กรมการศาสนาทราบและได้ชักชวนประชาชน สร้างกุฎิเล็ก ๆ ที่เชิงเขา ๔-๕ หลังสมัยนั้นยังกันดารไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ กรมการศาสนา ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัดจากหลักฐานวัตถุ โบราณและจากการบอกเล่า ของคนเก่าแก่ที่เคยทำไร่อยู่บริเวณวัดคีรีวงศ์ ยืนยันว่าบริเวณนี้เป็นวัดร้างจริงและพบบ่อกรุน้ำซึมด้วยกรมการศาสนา สมัย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เป็นอธิบดีกรมการ ศาสนา ได้สำรวจรังวัดและทำแผนที่ไว้ได้พื้นที่วัดทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ ๒๘๐ ไร่
พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะกรรมการผู้ริเริ่มสร้างวัดคีรีวงศ์ ซึ่งมีนายเปงซ้ง แซ่ตั้ง เป็นหัวหน้าได้ ไปขอพระสงฆ์จากเจ้าคณะ อำเภอเมืองฯ ที่วัดนครสวรรค์ เพื่อมาสร้างวัดคีรีวงศ์
คณะสงฆ์ได้ส่งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕ หรือ พระเดชพระคุณพระราชพรหมาจารย์ วิ. ซึ่งจำพรรษาอยู่วัดนครสวรรค์ ให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์
วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะสงฆ์ส่งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร มาอยู่วัดคีรีวงศ์ ซึ่งขณะนั้นมีกุฎิเล็กๆอยู่เชิงเขา ๔-๕ หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้
พ.ศ. ๒๕๑๐ เริ่มตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขึ้นที่วัดคีรีวงศ์ โดยจัดให้มีการประชุม ฟังธรรม ปฎิบัติธรรม ทุกวันอาทิตย์
พ.ศ. ๒๕๑๑ กรมการศาสนา ได้ดำเนินการทางศาล กับผู้ที่ครอบครองที่บริเวณวัดคีรีวงศ์
พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมการศาสนาชนะคดีชั้นศาลฎีกา โดยศาลชี้ขาดว่าในบริเวณแผนที่ซึ่งกรมการศาสนาได้สำรวจรังวัด ไว้ เป็นวัดร้างจริง
พ.ศ. ๒๕๑๘ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ เสนอเรื่องขอยกวัดคีรีวงศ์เป็นวัดมีพระสงฆ์ ตามกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๑๔
พ.ศ. ๒๕๑๙ กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะวัดคีรีวงศ์ ์เป็นวัดมีพระสงฆ์ถือว่าเป็น วัดโดยสมบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๑๙ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ได้แต่งตั้งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์
พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต อุโบสถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยกย่องวัดคีรีวงศ์ เป็นวัดพัฒนา ตัวอย่าง
พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมการศาสนา ประกาศยกย่องวัดคีรีวงศ์ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
พ.ศ. ๒๕๓๑ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วัดคีรีวงศ์ โดยมีพระครูพรหมญาณวิกรมเป็นประธานศูนย์ฯอำนวยการฝึก อบรมและได้อบรมพระนักเผยแผ่ฯ ไปแล้วทั่วประเทศ จำนวน ๔๐ รุ่น ๆ ละ ๑๕ วัน
พ.ศ. ๒๕๓๓ กรมการศาสนา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ณ วัดคีรีวงศ์ โดยมี พระครูพรหมญาณวิกรม เป็นประธานฝึกอบรม ได้อบรมไปแล้ว ๑๘ รุ่น ๆ ละ ๑๕ วัน
คณะสงฆ์ได้ส่งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕ หรือ พระเดชพระคุณพระราชพรหมาจารย์ วิ. ซึ่งจำพรรษาอยู่วัดนครสวรรค์ ให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์
วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะสงฆ์ส่งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร มาอยู่วัดคีรีวงศ์ ซึ่งขณะนั้นมีกุฎิเล็กๆอยู่เชิงเขา ๔-๕ หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้
พ.ศ. ๒๕๑๐ เริ่มตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขึ้นที่วัดคีรีวงศ์ โดยจัดให้มีการประชุม ฟังธรรม ปฎิบัติธรรม ทุกวันอาทิตย์
พ.ศ. ๒๕๑๑ กรมการศาสนา ได้ดำเนินการทางศาล กับผู้ที่ครอบครองที่บริเวณวัดคีรีวงศ์
พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมการศาสนาชนะคดีชั้นศาลฎีกา โดยศาลชี้ขาดว่าในบริเวณแผนที่ซึ่งกรมการศาสนาได้สำรวจรังวัด ไว้ เป็นวัดร้างจริง
พ.ศ. ๒๕๑๘ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ เสนอเรื่องขอยกวัดคีรีวงศ์เป็นวัดมีพระสงฆ์ ตามกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๑๔
พ.ศ. ๒๕๑๙ กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะวัดคีรีวงศ์ ์เป็นวัดมีพระสงฆ์ถือว่าเป็น วัดโดยสมบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๑๙ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ได้แต่งตั้งพระมหาบุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์
พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต อุโบสถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยกย่องวัดคีรีวงศ์ เป็นวัดพัฒนา ตัวอย่าง
พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมการศาสนา ประกาศยกย่องวัดคีรีวงศ์ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
พ.ศ. ๒๕๓๑ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วัดคีรีวงศ์ โดยมีพระครูพรหมญาณวิกรมเป็นประธานศูนย์ฯอำนวยการฝึก อบรมและได้อบรมพระนักเผยแผ่ฯ ไปแล้วทั่วประเทศ จำนวน ๔๐ รุ่น ๆ ละ ๑๕ วัน
พ.ศ. ๒๕๓๓ กรมการศาสนา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ณ วัดคีรีวงศ์ โดยมี พระครูพรหมญาณวิกรม เป็นประธานฝึกอบรม ได้อบรมไปแล้ว ๑๘ รุ่น ๆ ละ ๑๕ วัน
พ.ศ. ๒๕๑๕ - ปัจจุบัน ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมศีลจารินี คือ บวชสตรีนุ่งขาว ใส่ขาว ไม่โกน ผม รักษาศีล ๘ รับประทานอาหารมังสะวิรัติ เพื่ออบรมธรรมะและเจริญภาวนา ได้จัด อบรมปีละ ๓ ครั้ง ขณะนี้อบรมไปแล้ว ๑๒๔ ครั้ง
กำหนดการบวชศีลจารินีประจำปี
๒๔ - ๓๐ มีนาคม ของทุกปี
๒๐ - ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี
๒ - ๖ ธันวาคม ของทุกปี
๒๔ - ๓๐ มีนาคม ของทุกปี
๒๐ - ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี
๒ - ๖ ธันวาคม ของทุกปี
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมจริยธรรม คุณธรรม นักเรียน นักศึกษา ณ วัดคีรีวงศ์ ได้อบรมไปแล้ว ๒๕ รุ่น ประมาณ ๑๒,๕๐๐ คน
วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ของจังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มหาเถรสมาคม มีมติตั้งวัดคีรีวงศ์ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗ จังหวัดนครสวรรค์ ประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม
วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ของจังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มหาเถรสมาคม มีมติตั้งวัดคีรีวงศ์ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗ จังหวัดนครสวรรค์ ประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม
สถานที่สำคัญ
๑. อุโบสถ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ มีสมเด็จพระพุทธโคดม จำลอง ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ๙ นิ้ว เป็นพระประธาน โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต หรือสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปุณฺณสิริ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ และเททองหล่อพระประธาน ณ วัดคีรีวงศ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ฝาผนังอุโบสถ มีภาพวาด พระเจ้า ๑๐ ชาติ ภาพพุทธประวัติ ปางแสดงปฐมเทศนา และปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
๒. ศาลาพุทธานุภาพ เป็นศาลาทรงไทย ๓ มุข ขนาดกว้าง ๑๓ วา ยาว ๓๓ วา และมีมุขด้านหน้าเนื้อที่ ๔๐ ตารางวา มีเนื้อที่ ตั้งอาคาร ๔๖๙ ตารางวา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้เป็นสถานที่บวชศีลจารินี ปีละ ๓ ครั้ง รองรับคนบวชได้ ประมาณ ๒,๕๐๐ คน เป็นที่ ประชุมคณะสงฆ์, อบรมข้าราชการ,นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป วันพระใช้เป็นที่ทำบุญ วันธรรมดา ใช้เป็นที่ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ภายในศาลา วาดรูปพุทธประวัติ รูปพระเวสสันดร ๑๓ กัณฑ์ วาดรูปพระเถระองค์ที่สำคัญในประเทศไทย เช่น หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่มั่น เป็นต้น
ด้านหลังวาดรูปพระราชลัญจกร ๙ รัชกาล ด้านข้างศาลาทิศตะวันตก วาดภาพพุทธประวัติ ด้านเหนือวาดรูปธรรมจักร ตรงกลางและพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงและธงชาติ
ทิศตะวันตก วาดภาพสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ด้านตะวันออกวาดรูปพระเถระผู้ทรงคุณ-ธรรม ด้านต่าง ๆ และวาดรูปพระเวสสันดร
สำหรับศาลาพุทธานุภาพหลังนี้ สร้างไว้เพื่อใช้เป็นที่ประชุมอบรมศีลจารินี เป็นที่ประชุม พระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา และข้าราชการ สามารถรองรับผู้เข้าประชุม ประมาณ ๒,๐๐๐ คน โดยจัดอบรมศีลจารินีปีละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๗ วันและการประชุม สัมมนาอบรมพัฒนาจิตใจข้าราชการ ตำรวจและนักเรียน นักศึกษา ทุกเดือน ๆ ละหลายครั้ง
ด้านหลังวาดรูปพระราชลัญจกร ๙ รัชกาล ด้านข้างศาลาทิศตะวันตก วาดภาพพุทธประวัติ ด้านเหนือวาดรูปธรรมจักร ตรงกลางและพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงและธงชาติ
ทิศตะวันตก วาดภาพสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ด้านตะวันออกวาดรูปพระเถระผู้ทรงคุณ-ธรรม ด้านต่าง ๆ และวาดรูปพระเวสสันดร
สำหรับศาลาพุทธานุภาพหลังนี้ สร้างไว้เพื่อใช้เป็นที่ประชุมอบรมศีลจารินี เป็นที่ประชุม พระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา และข้าราชการ สามารถรองรับผู้เข้าประชุม ประมาณ ๒,๐๐๐ คน โดยจัดอบรมศีลจารินีปีละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๗ วันและการประชุม สัมมนาอบรมพัฒนาจิตใจข้าราชการ ตำรวจและนักเรียน นักศึกษา ทุกเดือน ๆ ละหลายครั้ง
๓. โรงเรียนคีรีวงศ์วิทยา ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัด เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๓ ชั้น มี ๓ มุข ยาว ๕๒ เมตร กว้าง ๑๔ เมตร ชั้น ๑ เป็นห้องประชุม ชั้น๒-๓ เป็นห้องเรียน โดยเป็นที่เรียนนักธรรม,บาลี และพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มี ม.๑ - ๖ ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๓๐ รูป
๔. ศาลาบำเพ็ญบุญ ใช้เป็นที่จัดเลี้ยง ผู้เข้าประชุมหรือผู้มาบวชศีลจารินี สามารถรองรับคน ได้ประมาณ ๒,๐๐๐ คน
๕. สวนปฎิบัติธรรมโพธิญาณ สวนปฎิบัติธรรมลานโพธิ์ และสวนปฎิบัติธรรมร่มไทร ใช้เป็นสถานที่เดินจงกรมและนั่งสมาธิที่สนามหญ้า หรือใต้ต้นไม้
๖. สำนักกรรมฐานอุบาสิกา มี ๒ ส่วน คือ สำนักล่างและสำนักบน มีกุฎิกรรมฐาน ประมาณ ๑๐๐ หลัง
๗. วิหารหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ เป็นวิหารใหญ่ ตั้งอยู่ในสำนักกรรมฐานอุบาสิกา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ ปูนปั้น หน้าตัก ๔ ศอก ๙ นิ้ว ทาทองน้ำสีเหลืองเป็นที่สิง สถิตย์ของเทพย์ที่เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ ผู้ขอพรได้รับความสำเร็จขายที่ได้จึงสร้างวิหารถวาย ขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๐ เมตรและสองข้างหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จ พระพุทฒาจารย์ (โต) และรูปหล่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
๘. พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ วา ๙ นิ้ว เป็นลักษณะผสมเชียงแสน สุโขทัยและรัตนโกสินทร์ คือ ขัดสมาธิเพชร, เกตุดอกบัวตูม สังฆาฏิสั้น แบบพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน พระพักตร์ ส่วนองค์และพระพาหาเป็นสมัยสุโขทัย ส่วนแท่นพระเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปใหญ่บนยอดเขานี้ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ โดยนายชุณห์สีห์ นางปราณีอโนดาต เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย
ปีพ.ศ. ๒๕๒๕ มีงานบวชศีลจารินีและสมโภชพระพุทธชินสีห์ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตร กรุงเทพมหานคร เสด็จเป็นองค์ประธาน สมโภชและจุดเทียนไชยพุทธาภิเษก
ปีพ.ศ. ๒๕๒๕ มีงานบวชศีลจารินีและสมโภชพระพุทธชินสีห์ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตร กรุงเทพมหานคร เสด็จเป็นองค์ประธาน สมโภชและจุดเทียนไชยพุทธาภิเษก
๙. วิมานอโนดาต เป็นวิมาน ๔ มุข ตั้งอยู่หลังพระพุทธชินสีห์บนยอดเขาดาวดึงส์ เป็นของ ตระกูลอโนดาต ผู้สร้างพระพุทธชินสีห์ถวายวัดคีรีวงศ์
๑๐. ถนนพระจุฬามณีเจดีย์ เป็นถนนขึ้นเขาดาวดึงส์ ระยะทางประมาณ ๑,๘๐๐ เมตร ทางวัดสร้างและลาดยาง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยนายสำราญ นางบุญชู จงเศรษฐี สนับสนุนรถแมคโคร
พ.ศ. ๒๕๕๑ เทศบาลนครนครสวรรค์ โดยนายจิตตเกษม นิโรจน์ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ได้ดำเนินการ
ของบประมาณดำเนินการทำถนนคอนกรีตขึ้นเขาดาวดึงส์ และปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยงบประมาณ ๕๔ ล้านบาท
พ.ศ. ๒๕๕๑ เทศบาลนครนครสวรรค์ โดยนายจิตตเกษม นิโรจน์ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ได้ดำเนินการ
ของบประมาณดำเนินการทำถนนคอนกรีตขึ้นเขาดาวดึงส์ และปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยงบประมาณ ๕๔ ล้านบาท
๑๑. พระจุฬามณีเจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดเขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ สร้างตรงฐานพระเจดีย์เก่าซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ปลายกรุงสุโขทัย ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว
พระจุฬามณีเจดีย์ สร้างเป็น ฐาน ๔ เหลี่ยม หมายถึง มหาสติปัฏฐาน ๔ สูง ๔ ชั้น หมายถึง อริยสัจ ๔ พระเจดีย์มี ๕ องค์ คือ องค์ใหญ่ อยู่กลาง พระเจดีย์เล็กอยู่ ๔ มุม หมายถึง พละธรรม ๕ หรือ อินทรี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พระเจดีย์ใหญ่ เปรียบด้วยสติ เพราะสติเป็นใหญ่ เป็นประธาน ของธรรมะทั้งหลาย ส่วนพระเจดีย์เล็ก ๔ องค์ เปรียบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง คือ สัทธาคู่กับปัญญา วิริยะคู่กับ สมาธิ ฐานพระเจดีย์ ตอนบนเป็น ๔ เหลี่ยม เปรียบด้วยอิทธิบาทธรรม ๔ คือ ฉันทะ พอใจทำดี วิริยะ เพียรทำดี จิตตะ สนใจทำดี วิมังสา เข้าใจทำดี
ปล้องไฉนขององค์พระเจดีย์ ที่มองเห็นเป็นปล้องๆ มี ๒๖ ปล้อง เปรียบด้วย สุคติภูมิ ๒๖ ชั้น คือ สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น รวมเป็น ๒๖ ชั้น
ส่วนยอดสูงสุดของพระเจดีย์ มีลักษณะกลมนั้น เปรียบด้วย พระนิพพานความดับสิ้นเชิงแห่งกองทุกข์ ส่วนที่คอระฆัง มีลักษณะรูประฆัง เปรียบด้วยระฆัง ที่มีไว้สำหรับตีประกาศให้ทำความดี หรือ ประกาศเชิญชวน ให้มาสร้างกุศลปฏิบัติธรรม
เมื่อผู้ใดมองเห็นพระเจดีย์แล้ว จะเตือนใจให้คนมาไหว้ พระเจดีย์ มาสร้างบุญบารมี จะได้ไปสู่สุคติภูมิ หรือบรรลุพระนิพพาน
อนึ่ง พระเจดีย์ ได้นามว่า พระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพราะเขาลูกนี้ตั้งชื่อว่า เขาดาวดึงส์ เนื่องจากอยู่ตรงถนนดาวดึงส์ และอยู่เมืองนครสวรรค์ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ตั้งชื่อให้ และแนะนำให้ สร้างพระจุฬามณีเจดีย์ ไว้บนยอดเขาภายใน องค์พระเจดีย์ชั้น ๔ มีพระพุทธรูป จำลอง ที่สำคัญของประเทศไทย ไว้ให้สักการะบูชา ๔ องค์ คือ
พระจุฬามณีเจดีย์ สร้างเป็น ฐาน ๔ เหลี่ยม หมายถึง มหาสติปัฏฐาน ๔ สูง ๔ ชั้น หมายถึง อริยสัจ ๔ พระเจดีย์มี ๕ องค์ คือ องค์ใหญ่ อยู่กลาง พระเจดีย์เล็กอยู่ ๔ มุม หมายถึง พละธรรม ๕ หรือ อินทรี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พระเจดีย์ใหญ่ เปรียบด้วยสติ เพราะสติเป็นใหญ่ เป็นประธาน ของธรรมะทั้งหลาย ส่วนพระเจดีย์เล็ก ๔ องค์ เปรียบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง คือ สัทธาคู่กับปัญญา วิริยะคู่กับ สมาธิ ฐานพระเจดีย์ ตอนบนเป็น ๔ เหลี่ยม เปรียบด้วยอิทธิบาทธรรม ๔ คือ ฉันทะ พอใจทำดี วิริยะ เพียรทำดี จิตตะ สนใจทำดี วิมังสา เข้าใจทำดี
ปล้องไฉนขององค์พระเจดีย์ ที่มองเห็นเป็นปล้องๆ มี ๒๖ ปล้อง เปรียบด้วย สุคติภูมิ ๒๖ ชั้น คือ สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น รวมเป็น ๒๖ ชั้น
ส่วนยอดสูงสุดของพระเจดีย์ มีลักษณะกลมนั้น เปรียบด้วย พระนิพพานความดับสิ้นเชิงแห่งกองทุกข์ ส่วนที่คอระฆัง มีลักษณะรูประฆัง เปรียบด้วยระฆัง ที่มีไว้สำหรับตีประกาศให้ทำความดี หรือ ประกาศเชิญชวน ให้มาสร้างกุศลปฏิบัติธรรม
เมื่อผู้ใดมองเห็นพระเจดีย์แล้ว จะเตือนใจให้คนมาไหว้ พระเจดีย์ มาสร้างบุญบารมี จะได้ไปสู่สุคติภูมิ หรือบรรลุพระนิพพาน
อนึ่ง พระเจดีย์ ได้นามว่า พระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพราะเขาลูกนี้ตั้งชื่อว่า เขาดาวดึงส์ เนื่องจากอยู่ตรงถนนดาวดึงส์ และอยู่เมืองนครสวรรค์ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ตั้งชื่อให้ และแนะนำให้ สร้างพระจุฬามณีเจดีย์ ไว้บนยอดเขาภายใน องค์พระเจดีย์ชั้น ๔ มีพระพุทธรูป จำลอง ที่สำคัญของประเทศไทย ไว้ให้สักการะบูชา ๔ องค์ คือ
๑. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อยู่ทิศใต้
๒. พระพุทธชินราช (จำลอง) อยู่ด้านทิศเหนือ
๓. พระพุทธโสธร (จำลอง) อยู่ด้านทิศตะวันออก
๔. พระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง (จำลอง) อยู่ทางทิศตะวันตก และภายในโดมเจดีย์ ได้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย
ด้านนอกเจดีย์ ชั้นบน มีพระพุทธรูป ปางประทานพร ขนาดหน้าตัก ๖๐ นิ้ว ๔ องค์ เปรียบด้วยจตุพิธพร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
เมื่อขึ้นไปที่ฐานพระเจดีย์ชั้น ๔ จะมองเห็นทิวทัศน์ เมืองนครสวรรค์ไกลออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร หากมองไปทางทิศตะวันออกจะมองเห็นเขากบ บึงบรเพ็ด ตลาดปากน้ำโพ มองไปทางทิศใต้จะเห็น อุทยานสวรรค์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และเขาจอมคีรีนาคพรตมองไปทางทิสตะวันตก จะเห็นภูเขาน้อยใหญ่ มีภูเขาหลวงเป็นฉากกั้น สวยงาม เมื่อยามพระอาทิตย์จะตกลับขอบฟ้ามองไปทางทิศเหนือ จะเห็นแม่น้ำปิง และทิวทิศน์ความจริง แม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ มีเพียง ๒ สาย เท่านั้น คือ แม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่าน
ส่วนแม่น้ำยม ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัย, พิจิตร มาบรรจบแม่น้ำน่านที่ ต. เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ แม่น้ำวัง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ตั้งแต่จังหวัดตาก, กำแพงเพชร เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน ก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่อุตรดิตถ์, พิษณุโลก พิจิตร ชุมแสง มาถึงปากน้ำโพ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำน่าน เพราะต้นน้ำเกิดที่จังหวัดน่าน มองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นสมเด็จพระพุทธชินสีห์ บนเขาดาวดึงส์ หน้าตัก ๕ วา ๙ นิ้ว และทิวทัศน์ภูเขาต่าง ๆ เช่น เขาหลวง เป็นต้น
๑๒.วัดคีรีวงศ์ มีสวนปฏิบัติธรรม สำหรับเดินจงกรมโดยรอบ และนั่งสมาธิหลายแห่ง ข้างล่างมีสวนปฏิบัติธรรมลานบุญ, สวนปฏิบัติธรรมร่มไทร, สวนปฏิบัติธรรมโพธิญาณ, ลานปฏิบัติธรรมวิกรมมุนี, อุทยานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ , สวนปฏิบัติธรรมพรหมญาณ ๓, สวนปฏิบัติธรรมพรหมญาณ ๔ บนเขาดาวดึงส์ มี ๑ สวน คือ สวนปฏิบัติธรรมพรหมญาณ
๑๓.ศาลเจ้าพ่อปัญจะคีรี อยู่ทางทิศตะวันออกของพระจุฬามณีเจดีย์
๑๔.วิหารท้าวพระยานาคา อยู่ข้างศาลาพุทธานุภาพ
๑๕.ห้องสมุดพุทธชินวงศ์ อยู่หน้าศาลาพุทธานุภาพ
๑๖.หอประชุมธรรมานุภาพ ใช้เป็นที่อบรม และเป็นที่พักผู้เข้าอบรมและปฎิบัติธรรม
๑๗.ผู้จะไปวัดคีรีวงศ์ จะสังเกตุเห็นพระประทานพรองค์ใหญ่หน้าวัดคีรีวงศ์และพระจุฬามณีเจดีย์ บนยอดเขาดาวดึงส์ ซึ่งมองเห็นจาก ๔ ทิศ ระยะ ๑๐ ก.ม.
๑๘.วัดคีรีวงศ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา ๑๒๖ รูป แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๘ คณะ มีเรียนนักธรรม,บาลีและพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
๑๙.งานประเพณีตักบาตรเทโว หน้าพระจุฬามณีเจดีย์ บนยอดเขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
๑๓.ศาลเจ้าพ่อปัญจะคีรี อยู่ทางทิศตะวันออกของพระจุฬามณีเจดีย์
๑๔.วิหารท้าวพระยานาคา อยู่ข้างศาลาพุทธานุภาพ
๑๕.ห้องสมุดพุทธชินวงศ์ อยู่หน้าศาลาพุทธานุภาพ
๑๖.หอประชุมธรรมานุภาพ ใช้เป็นที่อบรม และเป็นที่พักผู้เข้าอบรมและปฎิบัติธรรม
๑๗.ผู้จะไปวัดคีรีวงศ์ จะสังเกตุเห็นพระประทานพรองค์ใหญ่หน้าวัดคีรีวงศ์และพระจุฬามณีเจดีย์ บนยอดเขาดาวดึงส์ ซึ่งมองเห็นจาก ๔ ทิศ ระยะ ๑๐ ก.ม.
๑๘.วัดคีรีวงศ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา ๑๒๖ รูป แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๘ คณะ มีเรียนนักธรรม,บาลีและพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
๑๙.งานประเพณีตักบาตรเทโว หน้าพระจุฬามณีเจดีย์ บนยอดเขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
๒๐. ลำดับเจ้าอาวาส
๑. พระราชพรหมาจารย์ วิ. (บุญรอด ปญฺญาวโร) พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๖๐ ปฐมเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ ผู้สร้างวัดคีรีวงศ์ จากวัดร้างจนเป็นวัดมีพระสงฆ์ และสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ (มรณภาพ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐)
๑. พระราชพรหมาจารย์ วิ. (บุญรอด ปญฺญาวโร) พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๖๐ ปฐมเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ ผู้สร้างวัดคีรีวงศ์ จากวัดร้างจนเป็นวัดมีพระสงฆ์ และสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ (มรณภาพ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐)
๒๑.วัดคีรีวงศ์ พ.ศ.๒๕๖๐ มีพระครูนิยมกิจจานุกิจ (อัครเดช สุรเตโช) เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์
๒๒.วัดคีรีวงศ์ มีนโยบายหลักอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร
๒. ส่งเสริมการปฎิบัติกรรมฐานของพระภิกษุสามเณรและประชาชน
๓. ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๔. ส่งเสริมการพัฒนาวัดให้สะอาด ร่มรื่นสวยงาม
๒. ส่งเสริมการปฎิบัติกรรมฐานของพระภิกษุสามเณรและประชาชน
๓. ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๔. ส่งเสริมการพัฒนาวัดให้สะอาด ร่มรื่นสวยงาม
ข้อมูลจากhttp://www.watkiriwong.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น